ศรีสุวรรณร้อง กกต.สอบ พลังประชารัฐขับธรรมนัส-20 ส.ส. ถูกกฎหมายหรือไม่

ศรีสุวรรณร้อง กกต.สอบ พลังประชารัฐขับธรรมนัส-20 ส.ส. ถูกกฎหมายหรือไม่

วันนี้ เวลา 10.00 น. ที่สำนักงาน กกต. ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมือง เพื่อไต่สวนและวินิจฉัย กรณีพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) มีมติให้ 21 ส.ส.ของพรรคออกจากสมาชิกสภาพ เป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ 2561 และ พรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 หรือไม่ อย่างไร

ทั้งนี้สืบเนื่องจากเมื่อค่ำวันที่ 19 ม.ค.65 ที่ผ่านมา 

มีการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)ของพรรค โดยมีมติให้ส.ส. 21 คน ที่เป็นกลุ่มของ ร.อ.ธรรมนัส พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรค โดยอ้างกลุ่ม ส.ส.ดังกล่าวมีการเรียกร้องให้ปรับโครงสร้างพรรคขนานใหญ่ ถือได้ว่าเป็นเหตุที่ร้ายแรงที่กระทบกับเสถียรภาพและเอกภาพของ พปชร. โดยมีมติตามข้อบังคับข้อที่ 54(5) ประกอบวรรคท้าย ให้สมาชิกภาพสมาชิกสิ้นสุดลงเนื่องจากเป็นเหตุร้ายแรง เป็นเรื่องความมั่นคง เอกภาพ เสถียรภาพของพรรค

การมีมติดังกล่าว มีข้อสงสัยหลายประการ ดังนี้

1)การที่สมาชิก หรือ ส.ส.เรียกร้องให้ปรับโครงสร้างพรรคขนานใหญ่ จะถือได้ว่าเป็นเหตุที่ร้ายแรง จนต้องให้ออกจากสมาชิกพรรคนั้น ชอบหรือไม่

2)การที่มี 17 กรรมการบริหารพรรคและ ส.ส. 61 คน รวมทั้งสิ้น 78 คนประชุมกันแล้วมีมติให้สมาชิกพรรคออกจากสมาชิกภาพ โดยมิได้มี ส.ส.ทั้งหมดของพรรคเข้าร่วมประชุมจนครบ จะถือว่าชอบหรือไม่

3)ข้ออ้างในการมีมติเห็นชอบให้ ส.ส.21 คน พ้นจากการเป็นสมาชิกภาพของพรรคนั้นโดยอ้างข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ ข้อ 54(5) ว่าเป็นเหตุร้ายแรงอื่นนั้น โดยที่พรรคพลังประชารัฐไม่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาไต่สวน สอบสวน สมาชิกทั้ง 21 คนเพื่อหาข้อสรุปก่อนที่จะเสนอให้ที่ประชุมร่วมของพรรคพิจารณาเสียก่อนนั้น ชอบหรือไม่ และ

4)ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่ถูกให้ออกนั้น ต้องพ้นสภาพ สส.ไปเลยหรือไม่ เนื่องจากมิได้เกิดเหมือนกรณีการขอยุบพรรคหรือการถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค เพราะถ้าย้ายพรรคไปแล้วก็จะไปแซง บ/ช ของพรรคอื่น หรือ ไปอยู่พรรคใหม่ที่ไม่เคยส่งเลือกตั้ง ก็จะไปเป็น บ/ช รายชื่อของพรรคนั้นๆ โดยไม่เคยถูกเลือกมาเลยไม่ว่าจะแบบไหน ซึ่งน่าจะหมดสภาพ สส.ไปเลย และ บ/ช รายชื่อ ของ พปชร.ลำดับถัดไปน่าจะได้ขึ้นมาแทนที่ หรือไม่ อย่างไร

ด้วยข้อสงสัยข้างต้นซึ่งอาจขัดต่อข้อบังคับพรรคและกฎหมาย สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญจึงต้องมาแจ้งต่อ กกต.ให้ดำเนินการตรวจสอบ หากพบเป็นการฝ่าฝืนย่อมอาจเข้าข่ายกระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ตาม พรป.พรรคการเมือง 2560 ม.92(2) ซึ่งเป็นเหตุให้ กกต.อาจเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือสั่งยุบพรรคที่ฝ่าฝืนนั้นได้ นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด

ประวัติ ศุภรัตน์​ ควัฒน์กุล อดีตปลัดคลัง เสียชีวิต

วันนี้ 21 ม.ค. 65 ผู้สื่อข่าวรายงาน ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เสียชีวิต เมื่อเวลาประมาณ​ 01.00​ น.ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ​ จากโรคมะเร็งลำไส้ สิริอายุ 69 ปี จากนี้ญาติจะนำร่างไปบำเพ็ญทางศาสนาต่อไป

สำหรับประวัติของ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล เกิดเมื่อวันที่ 16 มี.ค.2495 อายุ 69 ปี เป็นบุตรของนายแก้ว และนางเฉลียว ควัฒน์กุล มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน โดย นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล เป็นคนที่ 3 ปัจจุบันสมรสกับนางดารารัตน์ ควัฒน์กุล มีบุตรชาย 1 คน

เริ่มต้นงานราชการ ในปี พ.ศ. 2532 จากตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กรมสรรพากร 3 ปีต่อมา เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านโครงสร้างภาษีสรรพากร (นักวิชาการภาษี 9) กรมสรรพากร พ.ศ. 2539 ได้รับตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (นักบริหาร 9) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ ที่ปรึกษาการคลัง (นักวิชาการคลัง 10) สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

ในปี 2541 หลังวิกฤติต้มยำกุ้ง ได้เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (นักบริหาร 10) พ.ศ. 2543 อธิบดีกรมสรรพากร ก่อนที่ 4 ปีต่อมา พ.ศ. 2547 ได้นั่งเป็น ปลัดกระทรวงการคลัง

เมื่อ 19 พ.ค. 2552 Sanook รายงานว่า อ.ก.พ.กระทรวงคลัง มีมติไล่ออก ศุภรัตน์ พ้นปลัดคลังหลังตามมติ ป.ป.ช. ผิดอาญา-วินัยร้ายแรงง 4 รองอธิบดีกรมสรรพากรไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้น 12 ม.ค. 2555 ไทยรัฐ รายงานว่า นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ได้รับพระราชทานอภัยโทษทางวินัย กรณีถูกให้ออกจากราชการตามคำกล่าวโทษของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

แต่อย่างไรก็ตามอย่าเพิ่งตื่นตระหนกมากเกินไปเพราะการติดตามข้อมูลยังไม่มากพอ หากถามว่าไวรัสโอไมครอนมีการแพร่กระจายได้เร็วมากกว่าเดลต้ากี่เท่าหรือไม่อย่างไร และเท่าที่เห็นยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นในกลุ่มคนอายุเท่าไหร่จึงต้องรอข้อมูลที่ชัดเจนจริงๆ ถ้ามีข้อมูล 2 ส่วนนี้จึงจะหน้าตื่นตระหนก อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลจากทุกศูนย์ของกรมวิทย์ฯ และเครือข่าย 300 กว่าแล็ป ว่าโอไมครอนหลุดลอดมาในประเทศไทย แต่โดยธรรมชาติจะเริ่มป้องกันได้ยากสำหรับการแพร่ระบาดของทุกไวรัส