ข่าวปลอม! ลด ภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ถึงแค่ 30 เม.ย.

ข่าวปลอม! ลด ภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ถึงแค่ 30 เม.ย.

ตามที่มีการปรากฏบนโซเซียลมีเดียถึงกรณีที่ว่าจะมีการลดในส่วนของ ภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ไปจนถึงแค่วันที่ 30 เม.ย. นั้น เป็นข่าวปลอม (28 เม.ย. 2565) ตามที่ปรากฏข่าวตามสื่อกระแสหลักและสื่อสังคมออนไลน์ว่าสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยเตรียมจะยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้ตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตร ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายนนี้ ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลจะมีไปถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2565

นายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต 

ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏข่าวตามสื่อกระแสหลักและสื่อสังคมออนไลน์ว่าสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยเตรียมจะยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้ตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตร ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายนนี้ออกไปก่อนนั้น

กรมสรรพสามิตขอชี้แจงว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 3 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจในช่วงที่ระดับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยกรมสรรพสามิตได้ออกกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2565 ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลง 3 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ – วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ส่งผลให้ปัจจุบันอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลบี 7 ลดลงจาก 5.99 บาทต่อลิตร เหลือ 3.20 บาทต่อลิตร ในส่วนของการขยายเวลาการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลหลังจาก วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 นั้น จะต้องพิจารณาสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอีกครั้งหนึ่ง

ดังนั้น ข่าวที่ปรากฏตามสื่อกระแสหลักและสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ว่าการลดภาษีน้ำมันดีเซลมีผลถึงวันที่ 30 เมษายน 2565 และมีการจัดเก็บภาษีน้ำมันดีเซลในอัตรา 5.99 บาท ต่อลิตรนั้น จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

จากที่มีการแพร่กระจายของข่าวที่ว่ามี เบอร์อันตราย จาก กรมบัญชีกลาง ได้แอบอ้างการแจ้งโอนเบี้ยยังชีพ เพื่อขโมยข้อมูลนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

(27 เม.ย. 2565) ตามที่ได้มีข้อความเตือนภัยเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง เบอร์อันตราย จาก กรมบัญชีกลาง แจ้งโอนเงินเบี้ยยังชีพ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีข้อความชวนเชื่อระบุว่ามีผู้เสียหายจากหมายเลขโทรศัพท์ 082-946-4808 ที่โทรเข้าและแอบอ้างเป็นหน่วยงานกรมบัญชีกลาง แจ้งว่าจะโอนเงินเบี้ยยังชีพเข้าบัญชีให้คนละ 2,000 บาท จากนั้นมิจฉาชีพจะทำการขโมยเงินของปลายสาย ทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยยืนยันว่าไม่มีนโยบายในการโอนเงินเข้าบัญชีให้กับผู้รับบำนาญ คนละ 2,000 บาท ซึ่งจากการตรวจสอบไปยังหมายเลขดังกล่าว เป็นเบอร์มือถือ 082-946- 4808 นั้น พบว่าหมายเลขนี้ยังไม่มีการเปิดใช้งาน อีกทั้ง ยังไม่เคยมีผู้เสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวตามที่ถูกเผยแพร่

บสย. เดินหน้าโครงการค้ำประกัน เติมเต็มรายย่อย : 3 ล้านบาท/ราย นานถึง 10 ปี

บสย. ประกาศถึงการดำเนินการต่อเนื่องในส่วนของ โครงการค้ำประกัน เติมเต็มรายย่อย ที่ช่วยเหลือภายกรอบวงเงิน 3 ล้านบาท/ราย นาน 10 ปี (27 เม.ย. 2565) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เดินหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หนุนธุรกิจรายย่อย ค้ำเต็มร้อย – เติมเต็มรายย่อย วงเงิน 8,000 ล้านบาท เสริมสภาพคล่องกิจการ SMEs รายย่อย ค้ำประกันสูงสุด 3 ล้านบาทต่อราย ฟรีค่าธรรมเนียม 3 ปี ลดภาระต้นทุน ขยายระยะเวลาค้ำประกันนาน 10 ปี

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ บสย.ได้เปิดรับคำขอค้ำประกันสินเชื่อจากธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ “บสย. SMEs เติมเต็มรายย่อย” วงเงิน 8,000 ล้านบาท โดยโครงการนี้จะช่วยเติมเต็มให้ผู้ประกอบการได้รับสินเชื่อง่ายขึ้นและมากขึ้น

โดย บสย. ช่วยรับความเสี่ยงแทนผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้ธนาคารมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น

นอกจากนี้ บสย. ยังได้มอบสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่ขอรับการค้ำประกันสินเชื่อ วงเงินค้ำสูงสุด 3 ล้านบาทต่อราย ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อต่อเนื่อง 3 ปี ระยะเวลาค้ำประกันนานถึง 10 ปี ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ดำเนินธุรกิจอย่างสบายใจ ลดต้นทุนการเงิน และที่สำคัญจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัว

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.cgd.go.th หรือโทร. 02-127-7000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : กรมบัญชีกลาง ไม่มีนโยบายในการโอนเงินเข้าบัญชีให้กับผู้รับบำนาญ คนละ 2,000 บาท ซึ่งจากการตรวจสอบไปยังเบอร์ 082-946-4808 นั้น พบว่าหมายเลขนี้ยังไม่มีการเปิดใช้งาน อีกทั้งยังไม่เคยมีผู้เสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวตามที่ถูกเผยแพร่

โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ ทางเว็บไซต์ doe.go.th/overseas หลังจากนายจ้างคัดเลือกคนหางานด้วยตนเอง ด้วยวิธีสอบสัมภาษณ์แบบออนไลน์

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป